บทที่ 1

โครงสร้างโลก

• โลกมีอายุมาแล้วประมาณ 4600 ล้านปี
• โครงสร้างโลกแบ่งออกได้เป็ น 3 ชั้น ได้แก่
– เปลือกโลก (Crust)
– เนื้อโลก (Mantle)
– แก่นโลก (Core)
• ชัั้นเปลือกโลกประกอบด้วยเปลือกโลกภาคพืื้นทวีปและเปลือกโลกใต้มหาสมุทร มีความลึกตั้งแต่ 5 ถึง 70 กิโลเมตร
• ชั้นเนื้อโลกมีความลึกประมาณ 2900 กิโลเมตร องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นของแข็ง
• ชั้นเนื้อโลกที่มีความลึก 100-350 กิโลเมตร เรียกว่า ชั้นฐานธรณีภาค (asthenosphere) เป็ นชั้นของหินหลอมละลายเรียกว่า แมกมา
• ส่วนบนของชัั้นเนืื้อโลกกับชัั้นเปลือกโลกรวมเรียกว่า “ธรณีภาค”(lithosphere) มีความหนาประมาณ 100 กิโลเมตร
• ชั้นเนื้อโลกที่มีความลึก 350-2900 กิโลเมตร เป็นของแข็งร้อน มีความแน่นและหนืดมากกว่าตอนบนมีอุณหภูมิ 2250-4500 องศาเซลเซียส
• ชั้นแก่นโลก มีความลึกตั้งแต่ 2900 กิโลเมตรลงไป แบ่งออกเป็ นแก่นโลกชั้นนอก มีความหนา 2900-5100 กิโลเมตร ประกอบด้วยเหล็กและนิกเกิลที่หลอมละลายเป็นของเหลว ส่วนแก่นโลกชั้นในก็ประกอบด้วยเหล็กและนิกเกิลแต่เป็นของแข็ง เพราะมีความดันอุณหภูมิสูง โดยมีอุณหภูมิสูงประมาณ 6000 องศาเซลเซียส

คลื่นในตัวกลาง (Body wave)
• คลื่นในตัวกลางเดินทางผ่านเข้าไปภายในของโลกผ่านไปยังพื้นผิวโลกที่อยู่ซีกตรงข้าม มี 2 ลักษณะ คือ
1.คลื่นปฐมภูมิ (P wave)
• เป็นคลื่นตามยาวที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลาง โดยอนุภาคของตัวกลางนั้นเกิดการเคลื่อนไหวแบบอัดขยายในแนวเดียวกับที่คลื่นส่งผ่านไป
• เคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลวและก๊าซ
• วัดแรงสั่นสะเทือนสามารถรับได้ก่อนชนิดอื่น
• มีความเร็วประมาณ 6 – 8 km/s
• ทำให้เกิดการอัดหรือขยายตัวของชั้นหิน
2.คลื่นทุติยภูมิ (S wave)
• เป็นคลื่นตามขวางที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลางโดยอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนไหวตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นผ่าน มีทั้งแนวตั้งและแนวนอน
• คลื่นชนิดนี้ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น
• ความเร็วประมาณ 3 –4 km/s
• ทำให้ชั้นหินเกิดการคดโค้ง

การแบ่งโครงสร้างโลกตามลักษณะกายภาพ
นักธรณีวิทยาแบ่งโครงสร้างภายในของโลกออกเป็น 5 ส่วน
โดยพิจารณาจากความเร็วของคลืื่น P และ S
1 ธณีภาค คื1. รณคอ ประกอบด้วยเปลือกโลกทวีป และ เปลือกโลกมหาสมุทร คลื่น P และ S เคลื่อนที่ช้าลงจนถึงแนวแบ่งเขตโมโฮวิซึ่งอยู่ที่ระดับลึกประมาณ 100 km
2. ฐานธรณีภาค อยูู่ใต้แนวแบ่งเขตโมโฮโรวิซิกลงไปจนถึงระดับ 700 km เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วเพิ่มขึ้นตามระดับลึก แบ่งเป็น 2 เขต
– เขตที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วต่ำา ที่ระดับลึก 100 - 400กิโลเมตร P และ S มีความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างไม่คงที่ เนื่องจากบริเวณนี้เป็นของแข็งเนืื้ออ่อน อุณหภูมิที่สูงมากทำให้แร่บางชนิดเกิดการหลอมตัวเป็นหินหนืด
– เขตที่มีการเปลี่ยนแปลง อยู่บริเวณเนื้อโลกตอนบน ระดับลึก 400 - 700 กิโลเมตร P และ S มีความเร็วเพิ่มขึ้นมาก ในอัตราไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากบริเวณนี้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแร่
3. เมโซสเฟี ยร์ อยู่บริเวณเนื้อโลกชั้นล่าง ที่ความลึก 700 - 2,900 กิโลเมตร เป็ นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วสม่ำเสมอ เนื่องจากเป็นของแข็ง
4. แก่นชั้นโลกนอก ที่ระดับลึก 2,900 - 5,150 กิโลเมตร คลื่น P ลดความเร็วลงฉับพลัน ขณะที่ S ไม่ปรากฏ ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณนี้เป็นเหล็กหลอมละลาย
5. แก่นโลกชั้นใน ที่ระดับลึก 5,150 กิโลเมตร จนถึงความลึก 6,371 กิโลเมตร ที่จุดศูนย์กลางของโลก คลื่น P ทวีความเร็วขึ้นเนื่องจากความกดดันแรงกดดันภายในทำให้เหล็กเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น