บทที่ 3

ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา


แผ่นดินไหว
• สาเหตุและกลไกในการเกิดแผ่นเดินไหว
– การเคลื่อนที่ของเปลือกโลกตามแนวระหว่างรอยต่อของแผ่นธรณีภาค
– ทำให้เกิดแรงพยายามกระทำต่อชั้นหินขนาดใหญ่ เพื่อจะทำให้ชั้นหินนั้นแตกหัก
– ขณะชั้นหินยังไม่แตกหัก เกิดเป็นพลังงานศักย์ขึ้นที่ชั้นหินนั้น
– เมื่อแรงมีขนาดมากจนทำให้แผ่นหินแตกหักจะเกิดการถ่ายโอนพลังงานนั้นไปยังชั้นหินที่อยู่ติด
– การถ่ายโอนพลังงานเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในรูปของคลื่น แผ่ออกไปทุกทิศทาง
– คลื่นที่แผ่จากจุดกำเนิดการสั่นสะเทือนขึ้นมายังเปลือกโลกได้เรียกคลื่นนี้ว่า “คลื่นในตัวกลาง”
– อัตราเร็วในการแผ่ของคลื่นแผ่นดินไหวขึ้นกับความยืดหยุ่นและความหนาแน่นของตัวกลาง
– เรียกจุดกำาเนิดการสั่นสะเทือนว่า ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (focus)
– ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (epicenter) ซึ่งจะมี “คลื่นพื้นผิว” กระจายออกไปตามแนวผิวโลก
– การระเบิดของภูเขาไฟอาจเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวได้
– การเคลื่อนตัวของแมกมาตามเส้นทางมายังปากปล่องภูเขาไฟ อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวก่อนที่แมกมานั้นจะระเบิดออกมาเป็นลาวา
– การกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดินก็อาจจะเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหว

คลื่นไหวสะเทือน
• คลื่นไหวสะเทือนมี 2 แบบ
1. คลื่นในตัวกลาง
 2. คลื่นพื้นผิว มี 2 แบบ
1. คลื่นเลิฟ (L wave) เป็นคลื่นที่ทำใหัอนุภาคของต้วกลางสั่นในแนวราบ โดยมีทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่นสามารถทำให้ถนนขาดหรือแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล
2. คลื่นเรย์ลี (R wave) เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคตัวกลางสั่น ม้วนตัวขึ้นลงเป็นรูปวงรี ในแนวดิ่ง โดยมีทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถทำให้พื้นผิวแตกร้าว และเกิดเนินเขา ทำให้อาคารที่ปลูกอยู่ด้านบนเกิดความเสียหาย

ไซโมกราฟ (seismo-graph)
เป็นเครื่องมือบันทึกข้อมูลคลื่นแผ่นดินไหวมีเป็นเครือข่ายทั่วโลก

บริเวณที่มักเกิดแผ่นดินไหว
– ตำแหน่งของศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมีความสัมพันธ์กับแนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาค
– แนวรอยต่อสำคัญที่มักทำให้เกิดแผ่นดินไหวมี 3 แนว ได้แก่

1. แนวรอยต่อที่ล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหว 80% ซึ่งมักจะรุนแรงเรียกบริเวณนี้ว่า “วงแหวนแห่งไฟ” (ring of fire) ได้แก่ ญี่ปุุ่น ฟิลิปปินส์ตะวันตกของเม็กซิโก ตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา
2. แนวรอยต่อภูเขาแอลป์และภูเขาหิมาลัย เป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว 15% ได้แก่ พม่า อัฟกานิสถาน อิหร่าน ตุรกี แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรป
3. แนวรอยต่อที่เหลือเป็นสาเหตุของอีก 5% ของแผ่นดินไหว ได้แก่ บริเวณสันกลางมหาสมุทรต่างๆ ได้แก่ บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติกแนวสันเขาในมหาสมุทรอินเดีย และแนวสันเขาในมหาสมุทรอาร์กติก

ความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหว
• ความรุ นแรงของแผ่นดินไหว ขึ้นกับปริ มาณพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว
• ความรุนแรงของแผ่นดินไหวกำหนดจากผลกระทบหรือความเสียหายทีี่เกิดบนผิวโลก ณ จุดสังเกต
• หน่วยวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว คือ ริกเตอร์ (richter) ตามชื่อของ (Charles F. Richter)
• น้อยกว่า 2.0 ริกเตอร์ เป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก
• 6.0 ริกเตอร์ขึ้นไป จัดเป็นแผ่นดินไหวรุนแรง


มาตราเมอร์คัลลี
คือ มาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว แบ่งเป็น 12 ระดับ
1. คนไม่รู้สึกสั่นไหว แต่เครื่องมือตรวจจับได้
2. คนในอาคารสูงรู้สึกได้
3. คนในอาคารแม้ไม่สูงรู้สึกได้
4. คนในอาคารและคนนอกอาคารบางส่วนรู้สึกได้ ของในอาคารสั่นไหว
5. รู้สึกได้ทุกคน ของขนาดเล็กมีการเคลื่อนที่
6. วัตถุขนาดใหญ่ในอาคารมีการเคลื่อนที่
7. อาคารมาตรฐานปานกลางเสียหายเล็กน้อย
8. อาคารที่ออกแบบพิเศษเสียหายเล็กน้อย อาคารมาตรฐานต่ำเสียหายมาก
9. อาคารที่ออกแบบพิเศษเสียหายชัดเจน แผ่นดินแยก
10. แผ่นดินแยกถล่ม โคลนทรายพุ่งขึ้นจากรอยแยก
11. ดินถล่มและเลื่อนไหล
12. ทุกสิ่งโดนทำลาย พื้นดินเป็นลอนคลื่น

แผ่นดินไหวในประเทศไทย

• พ.ศ. 1003 ที่เวียงโยนกทำาให้เวียงโยนกยุบจมลงกลายเป็นหนองน้ำใหญ่
• พ.ศ. 1077 ยอดเจดีย์หักลงสี่แห่ง
• พ.ศ. 2088 ที่นครเชียงใหม่ ยอดเจดีย์หลวงหักลงมา
• พ.ศ. 2506 มีแผ่นดินไหวรู้สึกได้ที่กรุงเทพมหานคร
• พ.ศ. 2518 ศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก มีแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ ที่อำาเภอศรีสวัสด์ิ จังหวัด กาญจนบุรี
• พ.ศ. 2526 รู้สึกได้ในภาคกลางและเหนือ
     รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) คือ แนวรอยเลื่อนบนเปลือกโลกที่เคลื่อนที่ได้ ในประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่อยู่บริเวณภาคเหนือ และด้านตะวันตกของประเทศคาบอุบัติซํ้า คือ ระยะเวลาครบรอบของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้น ณ ที่นั้นมาก่อน อาจมีระยะเป็นพันปีหรือร้อยปี หรือน้อยกว่า




การปฏิบัติขณะเกิดแผ่นดินไหว
1. คุมสติอย่าตื่นตระหนกเกินเหตุ หยุดการใช้ไฟฟ้า และไฟจากเตาแก๊สและควรมีไฟฉายประจำตัวอยู่ภายในบ้าน
2. ถ้าอยู่ภายในบ้าน ควรอยู่ห่างจากประตู หน้าต่าง กระจก และระเบียงบ้าน ระวังอย่าให้ของใช้ในบ้านหล่นทับ โดยอาจมุดอยู่ใต้โต๊ะ
3. ถ้าอยู่ในตึกสูง ให้มุดลงไปใต้โต๊ะที่แข็งแรงเพื่อป้ องกันสิ่งของร่วงหล่นใส่ อย่าวิิ่งออกไปภายนอก เพราะบันไดอาจพังลงได้ และห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาด
4. ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
5. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
6. เรี ยนรู้และติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวจากสื่อต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมและวางแผนเตรียมรับภัยจากแผ่นดินไหวได้อย่างมีสติและปลอดภัย

ภูเขาไฟ
• การระเบิดของภูเขาไฟเกิดจากการประทุของแมกมา แก๊ส เถ้าจากใต้พื้นโลก
• ขณะระเบิดแมกมาจะขึึ้นมาตามปล่องภูเขาไฟ

• ภูเขาไฟที่ดับแล้วได้เกิดขึ้นมานานมากแล้วนับได้เป็นแสนล้านปี วัตถุที่พ่นออกมาแข็งตัวกลายเป็นหินภูเขาไฟ

• เมื่อหลุดออกมานอกภูเขาไฟจะเรียกแมกมานั้นว่า ลาวา (Lava) มีอุณหภูมิ 1200°C

• ปัจจุบันทั่วโลกมีภูเขาไฟมีพลังอยู่ประมาณ 1,500 ลูก และกระจายอยู่ใน
บริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีภาคโดยเฉพาะบริเวณวงแหวนแห่งไฟ

การระเบิดของภูเขาไฟ


เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลกโดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น สิ่งที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟเมื่อภูเขาไฟระเบิดก็คือ หินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินและแก๊สต่างๆ โดยจะพุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ


หินอัคนีแบ่งเป็น 2 ลักษณะ


หินแกรนิต เป็นหินอัคนีที่เกิดขึ้นในชั้นหินอื่น ดังนั้นอัตราการเย็นตัวลงจึงช้า เกิดการตกผลึกของแร่ได้มากสังเกตเห็นผลึกแร่ต่างๆ ได้อย่างชัดเจน


หินภูเขาไฟ
• ความพรุนของหิน ขึ้นอยูู่กับ อัตราการเย็นตัวของลาวา
• ตัวอย่างของหินจากภูเขาไฟ เช่น หินบะซอลต์ หินพัมมิซ หินแก้วหินทัฟฟ์ หินออบซีเดียน

หินบะซอลต์
• เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่ผิวโลก ดังนั้นจึงกระทบกับอากาศหรือน้ำส่งผลให้มีการเย็นตัวเร็วลักษณะของหินจะมีเม็ดละเอียดกว่าหินแกรนิต และมีรูพรุนเล็กน้อย
• เป็นต้นกำเนิดอัญมณีที่สำคัญ
• ถ้ามีปริมาณของ Si จะเป็นหินแอนดีไซด์


หินพัมมิซ
• เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วของลาวา ทำให้มีความพรุนสูง บางชิ้นลอยน้ำได้
• นำมาใช้เป็นหินขัดตัว


ภูมิลักษณ์ของภูเขาไฟ
1. ที่ราบสูงบะซอลต์เกิดจากลาวาแผ่เป็นบริเวณกว้าง ทับถมกันหลายชั้นกลายเป็นที่ราบและเนินเขา
2. ภูเขาไฟรูปโล่ เกิดจากลาวาของหินบะซอลต์ระเบิดออกมาแบบมีท่อปล่องภูเขาไฟเล็กๆ บนยอดจะจมลงไป เช่น ภูเขาไฟมัวนาลัว ในหมู่เกาะฮาวาย
3. ภูเขาไฟรูปกรวย เป็นรูปแบบภูเขาไฟที่สวยงามที่สุด เกิดจากการทับถมสลับกันระหว่างการไหลของลาวา กับชิ้นส่วนภูเขาไฟ เช่น ภูเขาไฟฟูจิยามาอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและภูเขาไฟมายอนอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์

ภูเขาไฟในประเทศไทย
• ประเทศไทยอยู่นอกเขตการมุดตัวของแผ่นธรณีภาค แต่เคยมีการระเบิดของภูเขาไฟมาก่อน บริเวณที่พบหินภูเขาไฟ ได้แก่จังหวัดลพบุรี กาญจนบุรี ตราด สระบุรี ลำปาง สุรินทร์ และศรีสะเกษ ภูเขาไฟที่สำรวจพบส่วนใหญ่มีรูปร่างไม่ชัดเจน ที่มีรูปร่างชัดเจนมากที่สุด ได้แก่ ภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จังหวัดลำปาง ภูเขาพระอังคารและ ภูเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ จะมีปากปล่องเหลือให้เห็นเป็นร่องรอย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น